Categories
Tank Highlight

มีเงินแล้วไง มีที่ซื้อหรือยัง? รวมแหล่งซื้องานศิลปะสำหรับมือใหม่ ห้ามพลาด!! 

จากสัปดาห์ที่แล้ว ที่เราได้คุยกันถึงเรื่องการเตรียมตัวเตรียมใจ สำหรับการลงทุนในงานศิลปะแล้ว สัปดาห์นี้เรามาหาคำตอบกันต่อว่า ถ้าเราจะลงทุนในงานศิลปะ เราควรจะลงทุนที่ไหน อย่างไร หรือว่าที่ไหนล่ะที่เราสามารถซื้องานศิลปะได้ วันนี้พวกเราชาวอาร์ตแท็งก์ มีคำแนะนำสำหรับมือใหม่ที่สนใจสะสมผลงานศิลปะ ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาดูกันเลย

1. ซื้องานศิลปะจากงานประมูลที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน หรือ Auction House ที่เชื่อถือได้ 

เราสามารถมองหา Auction house ที่จัดประมูลงานศิลปะ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ International Auction House ในหลายประเทศของโลก และ Local Auction House ในประเทศไทย ซึ่งข้อดีของ International Auction House คือ งานทั้งหมดจะถูกคัดเลือกจากมุมมองที่คาดว่าจะมีผู้ซื้อจากนานาชาติทั่วโลก ในขณะที่ Local Auction House จะมุ่งที่รสนิยมของตลาดหลักในประเทศไทยแม้จะมีทั้งงานจากศิลปินไทยและนานาชาติ สำหรับค่าธรรมเนียมของการประมูลนั้น ก็มีอัตราการคิดที่แตกต่างกัน โดยInternational Auction House นั้น จะแบ่งออกเป็นหลายระดับขึ้นกับราคาเคาะค้อนของชิ้นงานนั้นๆ ในอัตราระหว่าง 14.5% – 26% ของราคาเคาะค้อน ตัวอย่างเช่น ราคาชิ้นงานต่ำกว่า 1 ล้าน USD จะมีค่าธรรมเนียม 26% ของราคาเคาะค้อน ถ้าราคาชิ้นงานยิ่งสูง ค่าธรรมเนียมก็จะอยู่ในอัตราที่ลดลงเป็นต้น ในขณะที่ค่าธรรมเนียมของ Local Auction House ในปัจจุบันเป็นอัตราค่าธรรมเนียมคงที่ ที่ 15% นอกจากนี้การประมูลในปัจจุบันยังสามารถประมูลได้หลายช่องทาง คือสามารถมาประมูลด้วยตัวเอง ทางโทรศัพท์ การฝากราคาล่วงหน้า และผ่านทางออนไลน์ได้อีกด้วย ข้อดีของการซื้อผลงานผ่านการประมูล คือ ราคาที่ใช้ในการประมูลเป็นราคาที่เชื่อถือได้ มีการอ้างอิงชัดเจน เพราะมีการเปิดเผยสู่สาธารณะ ถ้าเราอยากเริ่มเก็บงานจากการประมูล อาจเริ่มประมูลตามกำลังของตนเองในราคาที่เราสู้ได้ หรือตั้งงบประมาณให้อยู่ในราคาประเมิน (Estimated price) เราก็จะได้งานที่เราชอบกลับบ้านไปเชยชมได้ทันที

2. ซื้องานศิลปะโดยตรงจากแกลเลอรี่ 

ผลงานศิลปะที่ซื้อจากแกลเลอรี่จะเป็น First Hand หรือผลงานที่เป็นการจำหน่ายจากศิลปินหรือแกลเลอรี่โดยตรง ไม่ผ่านมือใคร เราจะได้เป็นผู้ครอบครองผลงานชิ้นนี้ในราคาไม่แพง แต่สำหรับนักสะสมหน้าใหม่ การจะได้งานมาครอบครองอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากบางแกลเลอรี่จะมีการเปิดจำหน่ายผลงานจากนิทรรศการนั้น ๆ ให้กับลูกค้าเก่าหรือลูกค้า VIP ก่อน กว่าจะถึงเรา งานที่เราชอบก็อาจจะหมดไปแล้วก็เป็นได้

3. ซื้องานศิลปะจากการ Re-Selling หรือขายต่อของนักสะสมท่านอื่น ๆ 

ปัจจุบันการจำหน่ายแบบรีเซลอยู่แทบในทุกวงการ ผลงานศิลปะบางชิ้นถูกนำออกมาจำหน่ายต่อผ่านทางนักสะสมด้วยกันเอง หรือจากทางอาร์ตดีลเลอร์ การที่จะได้มาซึ่งผลงานที่เราต้องการ บางครั้งจึงต้องรอคอยโอกาสหรือช่วงเวลาที่นักสะสมที่ถือครองอยู่นำมาจำหน่าย แต่ข้อควรระวังคือ ต้องเช็คราคาอย่างระมัดระวัง ตรวจสอบความถูกต้องและความจริงแท้ของผลงาน ต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แม้บางครั้งเรามั่นใจว่าได้งานมาจากแหล่งที่เราวางใจ แต่ผู้นั้นเองก็อาจไม่ทราบ หรือมิได้มีเจตนาขายงานไม่แท้ให้กับเรา จึงเป็นหน้าที่ผู้ซื้อเองด้วย ที่จะต้องศึกษาหาข้อมูล แหล่งที่มาให้มากที่สุดก่อนตัดสินใจซื้อ 

4. ซื้อที่ตลาดงานมหกรรมศิลปะเชิงพาณิชย์ หรือ Art Fair 

งานแสดงงานประเภทนี้ต่างจากนิทรรศการศิลปะในแกลเลอรี่หรือเทศกาลศิลปะ เนื่องจากเป็นรูปแบบของนิทรรศการที่เกิดขึ้นเพื่อการขายโดยเฉพาะ มีการรวบรวมเอางานหลากหลายประเภทและหลากหลายราคา ซึ่งถูกคัดสรรโดยแกลเลอรี่และอาร์ต ดีลเลอร์ เพื่อนำเสนอผลงานและสร้างตัวตนของศิลปิน โดยจุดประสงค์หลักคือการซื้อขาย พบปะนักลงทุนและนักสะสมเป็นสำคัญ งาน Art fair มีการจัดขึ้นบ่อยครั้งในแต่ละปี และเพิ่มมากขึ้นในหลายๆ ประเทศ ได้แก่ Art Basel, The Affordable Art Fair , Frieze, The European Fine Art Fair และ  FIAC  เป็นต้น ในภูมิภาคเอเชียมีงาน Art Fair ที่จัดเป็นประจำให้เราได้ไปเลือกซื้อหาผลงาน ได้แก่ Art Basel Hong Kong หรือ ในประเทศอื่นๆ ที่เริ่มต้นจัดงาน เช่น ART JAKARTA, ART SG หรือแม้แต่ในประเทศไทยก็มี Hotel Art Fair สามารถเช็คจากปฏิทินการจัดงานต่างๆ แล้วลองไปหาซื้องานกันได้เลย

5. ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันช่องทางจำหน่ายงานศิลปะไม่ได้มีอยู่แค่รูปแบบการเดินเข้าไปหาซื้ออีกต่อไป แต่เราสามารถเลือกซื้อหาผลงานได้จากอินเทอร์เน็ต ทั้งรูปแบบที่ศิลปินฝากในเว็บไซต์ของแกลเลอรี่เอง หรือเว็บไซต์ที่มีภัณฑารักษ์หรือ Curator เป็นผู้เลือกผลงานของศิลปินเข้ามาจำหน่าย ที่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศก็ได้แก่ Amazon art section, Artfinder, Etsy และ Saatchi Art เป็นต้น หรือจะเป็นการจำหน่ายจากศิลปินโดยตรงผ่านทางเว็บไซต์หลักของศิลปินเอง หรือช่องทาง online อื่น ๆ เช่น Line หรือ Instagram ซึ่งมักจะกำหนดราคาและจำนวนเอาไว้อย่างชัดเจน ผู้ซื้อก็สามารถเลือกซื้อง่าย ๆ ขอแค่กดจองและจ่ายเงินให้ทันเท่านั้นเอง แต่ข้อควรระวังของการซื้อผลงานจากทางอินเทอร์เน็ตคือ เราจะไม่ได้เห็นผลงานก่อนซื้อ ต้องระวังเรื่องการขนส่ง และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์หรือบุคคลที่เราติดต่อซื้อขายด้วย นอกจากนั้นการได้เห็นผลงานจริงก่อนตัดสินใจซื้อก็สำคัญมากเช่นกัน เพราะงานศิลปะแต่ละชิ้นจะสื่อสารกับเราได้ด้วย ขนาด ระยะ และการมองเห็น ดังนั้นการที่เรามองผ่านจอคอมพิวเตอร์ จะจำกัดการรับรู้ และอาจมีความคลาดเคลื่อนเรื่อง สี ขนาด ระยะการมองที่ปะทะความรู้สึกของผู้ดู

.

เป็นไงกันบ้างสายอาร์ต ถ้าอยากที่จะเริ่มเก็บสะสมผลงานศิลปะ ก็สามารถไปหาซื้อกันได้ตามสถานที่เบื้องต้นที่เราได้แนะนำ 

หากพร้อมแล้วสำหรับการลงทุนในงานศิลปะ ก็เตรียมไปช็อปกันได้เลย!! 


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

B K L by Roman x Lolay

Art of the Week

ว่าไงสายอาร์ต เข้าสู่สัปดาห์กลางเดือนกุมภาพันธ์กันแล้ว วีคนี้พวกเราก็ได้นำหนึ่งในผลงานจากศิลปินไทย นักวาดลายเส้นแนว Figurative ที่ถ่ายทอดเนื้อหาที่สะสมจากสิ่งรอบตัวอันเป็นเอกลักษณ์ กับนิทรรศการเดี่ยวอันล่าสุดกับ “Ju Ju” โดยโลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี พวกเราชาวอาร์ตแท็งก์จะพาทุกคนไปรู้จักกับหนึ่งในผลงานชิ้นพิเศษ “B K L” ถ้าพร้อมแล้วก็ไปรับชมกันได้เลย!!

ผลงาน “B K L” เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างงานศิลปะแบบโลเล ผู้เป็นพ่อ และงานศิลปะแบบโรมันของลูกชายคนโตของครอบครัวศรีทองดี ศิลปินได้เล่าเกี่ยวกับงานชิ้นนี้ว่าหลัก ๆ ของผลงานเป็นงานของโรมันที่เริ่มต้นทำบนเฟรมผ้าใบ ด้วยเทคนิคที่โรมันชื่นชอบคือการติดเทปกาวเป็นรูปทรงต่างๆ บนเฟรม กลิ้งสีทับเทปกาวและพื้นที่อื่น ๆ บนเฟรมจนทั่ว แล้วจึงลอกเทปกาวที่ปะติดอยู่เดิมออก ให้เกิดเป็นภาพผลงาน จากนั้นโลเลจึงค่อยเข้ามาวาดด้วยสีอะครีลิคเพิ่มเติมจนเกิดเป็นผลงานที่ถูกสร้างขึ้นมาร่วมกัน โดยตัวของน้องโรมันได้ตั้งชื่อให้กับผลงานชิ้นนี้ว่า “Roman” นั่นเอง

ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นงานที่พัฒนาต่อมาจากเทคนิคการสร้างงานของโรมันที่เคยทำมา เมื่อครั้งนิทรรศการ ‘YAN 782’ ที่จังหวัดสงขลาเมื่อปลายปี 2565 ด้วยเทคนิคเทปกาวและสีอะครีลิค ขนาดกว่า 2 เมตรที่สร้างด้วยตัวคนเดียว จนกระทั่งมาเป็นผลงาน “B K L” ชิ้นนี้ โดยได้แนวคิดจากความชื่นชอบของตัวโรมันเองในการให้ความสนใจกับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ การสร้างคาแรคเตอร์ของตัวการ์ตูนที่เป็นส่วนผสมของคนและสิ่งอื่น ๆ แต่มีความเคลื่อนไหว มีความคล่องแคล่ว และชอบทำกิจกรรม เหมือนกับตัวของโรมันที่ชอบเล่น ชอบวิ่ง และมีพลังอันเป็นจินตนาการที่กว้างใหญ่ ร่วมกับลายเส้นของโลเลที่เป็นใบหน้าของคนอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวศิลปินเองออกมาเป็นผลงานชิ้นนี้

สามารถรับชมผลงาน “B K L” และผลงานอื่น ๆ ที่เล่าเรื่องชีวิตของศิลปิน ผ่านภาพวาดบันทึกประจำวัน ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัว คนรอบข้าง สถานที่ที่ได้เดินทางไปพบเจอ และประเด็นทางสังคม แทนค่าด้วยคาแรคเตอร์การ์ตูนที่มีหลากหลายความรู้สึกและหลากหลายเทคนิคของการสร้างและการจัดแสดง ได้ที่ นิทรรศการ “Ju Ju” ได้ ตั้งแต่วันนี้ – 25 มีนาคม 2566 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. (ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ) * พิเศษสำหรับเดือนกุมภาพันธ์นี้เท่านั้น เปิดให้ชมทุกวัน ไม่มีวันหยุด โดยสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ฟรี สายอาร์ตห้ามพลาด!!


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

Bangkok Design Week 2023

สายอาร์ตพร้อมหรือยัง เตรียมพบกับเทศกาลงานดีไซน์สุดยิ่งใหญ่กับ Bangkok Design Week 2023 ที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 แล้ว ที่ในปีนี้กลับมาใน Concept หลักที่ชื่อว่า “URBAN ‘NICE’ ZATION” หรือ “เมือง-มิตร-ดี” ที่มีเป้าหมายในการ “ทำเมืองให้ดีขึ้น” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนาให้กรุงเทพฯ ดีขึ้นสำหรับวันข้างหน้าให้เมืองเป็นสถานที่ที่อยู่ดีมีสุข ส่วนงานในปีนี้จะจัดขึ้นที่ไหน รายละเอียดเป็นอย่างไร ตามมาดูกันได้เลย!!

.

ในปีนี้ Bangkok Design Week 2023 จัดเริ่มขึ้นในวันเสาร์ที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 จัดเต็มกับโปรแกรมต่าง ๆ และงานออกแบบที่มีมากกว่า 500 งาน กระจายใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ กับ ย่านเจริญกรุง – ตลาดน้อย / เยาวราช / สามย่าน – สยาม / อารีย์ – ประดิพัทธ์ / พระนคร – ปากคลองตลาด – นางเลิ้ง / วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู – คลองสาน / บางโพ / พร้อมพงษ์ / เกษตรฯ และพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีอัตลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่

.

ภายในงานก็จะพบโปรแกรมหลากหลาย ที่นําเสนอในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นผ่าน 4 กิจกรรมหลักทั้ง

Showcase & Exhibition การจัดแสดงผลงานและนิทรรศการจากนักสร้างสรรค์หลากหลายวงการ

Talk & Workshop การบรรยายและเวิร์กช็อป เพื่อการเติมเต็มความรู้และแนวคิดใหม่จากนักสร้างสรรค์ และผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศ

Event & Program กิจกรรมสร้างบรรยากาศและความเคลื่อนไหวให้กับเมืองในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง อีเวนต์ ไปจนถึงการเปิดบ้าน (Open House)

Creative Market & Promotion ตลาดนัดสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

.

1.เจริญกรุง – ตลาดน้อย 

เดินดูงานดีไซน์บนถนนสายแรกของประเทศไทย ลัดเลาะเข้าไปในชุมชนเก่าแต่เก๋ หมุดหมายปลายทางที่สาย Cafe Hopping ต้องเคยมาสักครั้ง ย่านต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ยืนยันจะสร้างสรรค์ต่อไป การันตีโดยกว่า 200 โปรแกรมสร้างสรรค์จากนักสร้างสรรค์ทั่วสารทิศ ที่ตบเท้ากันเข้ามาจัดงานในย่านนี้

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=280&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

2. อารีย์ – ประดิพัทธ์ 

“ฮับรวมพลคนสร้างสรรค์รวมพลังขับเคลื่อนย่าน”

เช็กอินในย่านสุดชิค แหล่งแฮงเอาต์ที่คนฮิปๆ มากันทั้งกลางวันและกลางคืน เดินเยี่ยมย่านสร้างสรรค์ที่เพื่อนบ้านเกื้อกูลกันอย่างเอื้ออารี ทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มเชื่อมโยงชุมชนที่กลุ่มนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการในย่าน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ ทักษะ ความสามารถต่อยอดร่วมกัน จนเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เข้ามาสร้างย่านนี้ให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=282&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

3. พระนคร – นางเลิ้ง – ปากคลองตลาด

“สามย่านประวัติศาสตร์สร้างสรรค์”

เดินสำรวจย่านเก่าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม ที่ซึ่งประวัติศาสตร์บทใหม่กำลังจะถูกเขียนขึ้นโดยนักออกแบบ ผู้ประกอบการ และคนในพื้นที่ ที่จะมาร่วมกันค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการอนุรักษ์ พัฒนา ต่อยอดเสน่ห์ดั้งเดิมโดยไม่แช่แข็ง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

.

ย่านพระนคร – ย่านเก่าสุดคลาสสิกที่เต็มไปด้วยสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สร้างกรุง พร้อมเปิดให้ ‘มิตร’ เข้ามาร่วม ‘บำรุงเมือง’ เพื่อต่อยอดเรื่องราวที่ดำเนินมากว่า 200 ปีให้คงอยู่ต่อไป

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49828&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

.

ย่านนางเลิ้ง – ย่านวัฒนธรรม ศิลปะและสถาปัตยกรรม แหล่งสำคัญของกรุงเทพฯ ที่มีประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนาน ที่ยังคงมีชีวิตในตึกวินเทจทรงขนมปังขิงสีพาสเทล ชุมชนเก่าแก่แต่ไม่หยุดนิ่งด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ที่ย้ายเข้ามาต่อยอดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาให้ยังคงอยู่ต่อไปด้วยงานออกแบบและความคิดสร้างสรรค์

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=50628&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

.

ย่านปากคลอง – ทางเดินย่านนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบแต่เต็มไปด้วยดอกไม้ ย่านขายดอกไม้สดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร กำลังจะถูกฟื้นฟูให้ครึกครื้นอีกครั้งผ่านโปรเจกต์ และการจัดกิจกรรมโดยนักสร้างสรรค์และคนในพื้นที่ 

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=50632&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

4. เยาวราช

“CITY TROOPER X ACADEMIC PROGRAM”

เปิดประสบการณ์ใหม่ในย่านเก่า ที่ไม่ได้มีดีแค่สตรีทฟู้ดระดับโลก แต่ยังมีความเข้มข้นทางวัฒนธรรมจีนจากหลากหลายยุคสมัย พบกับมิติใหม่ในการนำเสนอวัฒนธรรม จากความร่วมมือร่วมใจของนักพัฒนาเมือง สถาบันการศึกษา และกลุ่มนักวิชาการ ที่จับมือกันร่วมค้นหาความต้องการของเมือง ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา และทดลองใช้งานจริง บนพื้นที่ไชน่าทาวน์ – ย่านเยาวราช ทรงวาด สำเพ็ง เพื่อสร้างสรรค์ให้ย่านเยาวราชแห่งนี้ยังคงไม่มีวันหลับใหล และได้กลายเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ Bangkok City of Design 

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49827&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

5. วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู – ย่านคลองสาน

“ชูเสน่ห์ของย่านวัฒนธรรมแห่งฝั่งธน”

เดินข้ามมาฝั่งธน อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา อดีตราชธานีที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนที่ไหน ทั้งเรื่องความเชื่อ อาหาร และศิลปกรรม แต่ในขณะเดียวกันเราจะได้เห็นภาพการขยายตัวของเมืองอย่างชัดเจนจากความเจริญที่เข้ามากับรถไฟฟ้า สอดคล้องกับจำนวนที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ถือเป็นโจทย์สำคัญให้นักพัฒนา นักออกแบบ ผู้ประกอบการ และคนในพื้นที่ ได้มาร่วมกันใช้ความคิดสร้างสรรค์ขับเคลื่อนย่านให้อยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย

.

ย่านวงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู : ย่านวัตถุดิบที่มีแลนด์มาร์กน่าจำและสตรีทฟู้ดน่ากิน สู่การหยิบต้นทุนทางวัฒนธรรมมานำเสนอในรูปแบบใหม่ โดยนักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการในย่าน และชุมชนคนในพื้นที่

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49829&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

.

ย่านคลองสาน – ย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำเก่าแก่ที่สำคัญของฝั่งธน ที่เกิดการผสานความร่วมมือของเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนย่านให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=50633&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

6. บางโพ

“ถนนสายไม้บางโพ ตํานานที่มีชีวิต”

แล้วจะรู้ว่าไม่ใช่แค่สาวบางโพที่โก้จริงๆ หากได้มาเดินบนถนนสายไม้บางโพ ย่านค้าไม้ที่รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานไม้ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นเอาไว้ และยิ่งใครกำลังมองหาแรงบันดาลใจในการนำวัสดุไม้และเฟอร์นิเจอร์มาใช้ในงานสร้างสรรค์ ยิ่งไม่ควรพลาดชุมชนช่างไม้แห่งสุดท้ายของกรุงเทพฯ แห่งนี้ ตอนนี้ย่านบางโพถูกทำให้โก้กว่าเดิม โดยนักออกแบบ กลุ่มร้านค้า และคนในย่าน ที่มาร่วมกันจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสร้างย่านนี้ให้ยังคงเป็นตำนานที่มีชีวิต

สามารถดูรายละเอียดของย่านนี้ได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49831&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

7. เกษตรฯ

“GREEN LIVING กรีนดีอยู่ดี”

เดินทีเดียวได้เที่ยว 2 ต่อ เพราะที่ย่านเกษตรฯ ปีนี้ จัดทั้งงานเกษตรแฟร์ และ Bangkok Design Week พร้อมกัน ไม่ต้องเลือกให้ลังเลใจ ก็ไปได้ทั้งสองงาน เดินเรียนแม้ไม่ได้ลงทะเบียนในเรื่องการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างต้นแบบของชุมชนที่สมดุลและยั่งยืน จัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือจะเดินข้ามฝั่งไปตลาดอมรพันธ์ก็ยังมีงานดีไซน์จัดแสดงและมีสตรีทฟู้ดน่าลองอีกหลายร้านให้ชิม

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=49824&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

8. พร้อมพงษ์

“ชูจุดโดดเด่นของย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง”

พร้อมพงษ์ พร้อมลง พร้อมเดิน ไปในย่าน Luxury แหล่งเศรษฐกิจใจกลางเมือง ที่ตั้งของคอนโดหรู และศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ แต่ย่านพร้อมพงษ์ไม่ได้เป็นเพียงเท่านี้ ยังมีพื้นที่สร้างสรรค์ซุกซ่อนอยู่ในซอยสุขุมวิท 26 หากเดินเข้าไปจะได้พบกับชุมชนนักออกแบบที่ ‘Warehouse 26’ โกดังเก่าที่ถูกรีโนเวตโดยกลุ่มสถาปนิกและดีไซเนอร์ ให้เป็นทั้งออฟฟิศ สตูดิโอ โชว์รูมสินค้าดีไซน์ และร้านอาหารน่านั่งในพื้นที่เดียวกัน

วันนี้พร้อมพงษ์พร้อมแล้วที่จะนำเอาความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบมาสร้างประสบการณ์ใหม่เพื่อดึงความน่าสนใจของย่านออกมาให้ผู้มาเยือนได้รู้ โดยความร่วมมือของกลุ่มผู้ขับเคลื่อน ภาคเอกชน และนักสร้างสรรค์ในพื้นที่

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=54158&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

9. สยาม – สามย่าน

“สนามทดลองของคนสร้างสรรค์หลากหลายวงการ”

ศูนย์กลางธุรกิจสำคัญที่ตั้งอยู่ตรงกลางใจ อยู่ที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ พื้นที่นี้ถือเป็น Learning Space สำคัญของเมือง และยังเป็นแหล่งทดลองของคนเจเนอเรชั่นใหม่ที่พากันมาริเริ่มโมเดลธุรกิจใหม่ หรือสานต่อธุรกิจเดิมของครอบครัวแต่ไอเดียใหม่ที่นี่ เดินย่านนี้มีทุกอย่างให้เธอแล้ว มีทั้งงานดีไซน์ไนซ์ ๆ ให้ดู มีถนนบรรทัดทองให้สายกิน มีสยามสแควร์ให้ช้อปปิ้ง และยังมีอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ให้พักผ่อนหย่อนใจ

.

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/guide/venues?nbh=281&fbclid=IwAR3tsnXrFxOo70TO82GbzsA7sTQOBCcn-x0l_OgOn-yh9DcbeUKNAF9fRRk

.

ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สายอาร์ตสามารถแพลนการไปเดินในย่านต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั่วทั้งกรุงเทพได้ที่ : https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/program โดยงาน Bangkok Design Week 2023 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 เตรียมตัวให้พร้อมแล้วไปเจอกันได้ในงานนะ!!

.

รายละเอียดเพิ่มเติม : Bangkok Design Week และ https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

ศูนย์​กลางศิลปะ เมื่อไหร่ไทยจะพร้อม?

ใน Tank Highlight สัปดาห์ที่แล้ว เราได้มีการตั้งคำถามว่าประเทศไทยจะสามารถก้าวไปเป็นผู้นำและศูนย์กลางของศิลปะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างสิงคโปร์ได้อย่างไร วีคนี้จะขอพาทุกคนมาสำรวจองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะเป็นไปได้ในการจะเป็น หรือ หวังว่าจะเป็น โดยพิจารณาจากประเทศที่ก้าวนำประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอย่างสิงคโปร์กัน

.

จากการลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารศาลากลางและอาคารศาลฎีกาเก่าของสิงคโปร์เป็น National Gallery Singapore หรือหอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ เพื่อให้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดและสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเนื้อที่ 64,000 ตารางเมตร นอกจากงบประมาณจำนวนมากที่ใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ ทางรัฐบาลสิงคโปร์ยังอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาลในการหาซื้อผลงานศิลปะจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มากกว่า 8,000 ชิ้น ซึ่งนับเป็นคอลเลคชั่นผลงานศิลปะที่ใหญ่และล้ำค่าที่สุดที่เปิดแสดงต่อสาธารณะ โดยมีงานศิลปะสมัยใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่งาน Old master, Modern Art, Contemporary art จนถึงงาน Art Now ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน รวมถึงการจัดนิทรรศการหมุนเวียนของศิลปินระดับโลกอีกหลายครั้งและการเปิดโครงการ S.E.A Focus เพื่อสนับสนุนศิลปินในภูมิภาคที่สร้างสรรค์งานที่น่าสนใจ มีความหลากหลายและเป็นที่น่าจับตามองทั้งในภูมิภาค S.E.A และขยายไปจนถึงภูมิภาคใหญ่อย่างเอเชียแปซิฟิก 

.

การสนับสนุนทางศิลปะที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากหน่วยงานรัฐและสถาบันต่างๆ ของสิงคโปร์ ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับงานศิลปะแขนงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี นอกจากกิจกรรมที่ถูกจัดโดยภาครัฐและตัวหอศิลป์เองแล้วนั้น ยังมีการดำเนินงานร่วมกับ พิพิธภัณฑ์นานาชาติอื่นๆ  ได้แก่ ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู (Centre national d’art et de culture Georges-Pompidou) พิพิธภัณฑ์มูว์เซดอร์แซ (Musée d’Orsay) ในประเทศฝรั่งเศส, พิพิธภัณฑ์เทตบริเทน (Tate Britain) ในประเทศอังกฤษ, พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งชาติโตเกียว (MOMAT) ในประเทศญี่ปุ่น, พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่, และศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติเกาหลี (MMCA) ในประเทศเกาหลีใต้ เพื่อร่วมนำเสนอศิลปะในบริบทของโลก ทำให้ประเทศสิงคโปร์เป็นจุดสำคัญ ทั้งในวงการทัศนศิลป์ระดับภูมิภาคและระดับโลก 

.

ดังนั้นการจะเป็นศูนย์กลางของวงการศิลปะ จึงอาจไม่ใช่แค่มีเงินหรือมีสถานที่สวยงามเหมาะสม แต่ต้องมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาทางศิลปะอีกหลากหลายประการ ดังนี้

1. ศิลปะในประเทศต้องมีความเฟื่องฟูเพื่อพร้อมที่จะเป็นเมืองศิลปะ ประเทศต้องพร้อมสำหรับพื้นที่และบุคลากรทางด้านศิลปะที่พร้อมจะสร้างและจัดแสดงผลงาน ทั้งศิลปิน นักสะสม นักลงทุน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ อาร์ตสเปซ แกลเลอรี่ทั้งรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิด Art Scene และสร้างวัฒนธรรมด้านที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

2. มีจำนวนศิลปินมากพอที่จะสร้างผลงานศิลปะ การมีจำนวนศิลปินที่มากแต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นศิลปินไทยเท่านั้น การเปิดกว้างที่จะมีศิลปินจากหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาทำงานและอาศัยในประเทศไทยพร้อมทั้งสร้างผลงาน เพื่อให้เกิดศูนย์กลางการจำหน่ายที่ประเทศไทย จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเมืองศิลปะได้ ดังนั้นความสามารถของประเทศไทยในเชิงของความมีมิตรไมตรีกับคนต่างถิ่น การมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงในการอยู่อาศัย จะเป็นส่วนสำคัญที่ดึงดูดศิลปิน รวมทั้งองค์กรทั้งรัฐและเอกชนที่สนับสนุนในเรื่องนี้ โดยการสนับสนุนอาจไม่ได้เป็น free donation แต่อาจทำในเชิงธุรกิจเพื่อสนับสนุนกันและกันได้

3. ความเป็นมิตรของเมืองต่อผู้มาเยี่ยมชม ได้แก่จำนวนร้านอาหาร โรงแรม ค่าครองชีพ ที่พัก สภาพสังคมและการคมนาคมที่สะดวกสบายในการเดินทาง องค์ประกอบของการเป็นเมืองที่ Dynamic มีพิพิธภัณฑ์มากพอ มีหอศิลป์ของทางรัฐและเอกชนที่หลากหลาย การเปิดกว้างของแกลลอรี่ทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศ นอกจากที่เป็นองค์ประกอบโดยตรงของศิลปะแล้ว การมีร้านอาหารทุกประเภท และราคาที่เลือกทานได้ต่างๆ กัน การมี nightlife เพราะบางครั้งเทศกาลศิลปะไม่ได้จบที่แกลเลอรี่แต่มีการใช้เวลาพูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองในงานปาร์ตี้ของแกลเลอรี่ ดังนั้นความเป็นมิตรของคนไทย จึงเป็นองค์ประกอบที่เราสามารถเป็นได้

4. สังคมที่พร้อมในการยอมรับความหลากหลาย มีพื้นที่สำหรับ LGBTQ+ การเปิดกว้างให้กับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งหมายถึงทั้งการเปิดด้านวัฒนธรรมและรสนิยมไปด้วย ซึ่งเมืองหลายเมืองในโลกก็มีข้อจำกัดในประการต่าง ๆ และในบางเมืองก็เป็นลักษณะเฉพาะทางศาสนาประจำชาติ ซึ่งประเทศไทยของเรามีความเปิดกว้าง เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก จึงเป็นประเทศที่เหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางทางศิลปะระดับโลกได้

5. มีความพร้อมรับนักท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยว กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองน่าเที่ยวที่สุดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ที่เราจะใช้เป็นตัวผลักดันการท่องเที่ยวเชิงศิลปะที่เป็นการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงให้เข้ามาเติมเต็มจุดยืนของการเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกได้

6. การเมืองที่ดีจะสนับสนุนศิลปะ การเมืองที่มั่นคงย่อมทำให้เกิดความต่อเนื่องด้านนโยบายและนโยบายการสร้างเมืองศิลปะ ไม่ได้เป็นนโยบายฉาบฉวยหรือ event แต่ต้องเป็นนโยบายระยะยาวในการสร้างสุนทรียภาพให้กับคนไทยและเมืองไทย การเมืองที่ดีจึงสำคัญมากกับการพัฒนาระยะยาวในเรื่องศิลปะ 

7. มีนโยบายทางภาษีงานศิลปะอย่างชัดเจน เอื้อให้มีการซื้อขายหรือส่งออกศิลปะอย่างเหมาะสม

ประเทศไทยมีภาษีนำเข้าวัสดุสร้างงานศิลปะในอัตราที่สูง อยู่ในระดับตั้งแต่ 10-60% ซึ่งหมายถึงต้นทุนของการสร้างงานศิลปะก็จะสูงไปด้วย กลายเป็นข้อจำกัดหรือสิ่งกีดขวางให้การสร้างงานมีต้นทุนสูงในทุกๆ งานที่สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบในการสร้างงานศิลปะที่เป็นต้นทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยก็พลอยตีบตันไปด้วย ในขณะเดียวกันเราก็ยังมีภาษีนำเข้าศิลปะที่อยู่ในอัตราที่สูง ทำให้ความเป็นไปได้ในการที่จะมีแกลเลอรี่ระดับนานาชาติในไทยถูกปิดไปโดยสิ้นเชิง รวมไปถึง Art Fair ในระดับนานาชาติก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งแกลเลอรี่และ Art Fair มีส่วนสำคัญ เนื่องจากเป็นตลาดระดับโลก หากภาษีเราอยู่ที่อัตราประมาณตั้งแต่ 2-5% นอกจากรัฐจะได้ภาษี Vat จากการซื้อขายศิลปะในราคาสูงแล้ว เราก็ยังสามารถนำพาผู้คนที่มีศักยภาพทางการเงินที่จะมาซื้อศิลปะ มาใช้เงินในประเทศไทยได้อีกมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจศิลปะที่เชื่อว่าจะสามารถเติบโตเป็นสิบเท่าของปัจจุบัน

.

หากเราสังเกตจากองค์ประกอบหลาย ๆ ส่วนในระบบนิเวศทางศิลปะ ที่จะเอื้อให้ประเทศไทยนั้นพัฒนาเป็นศูนย์กลางหรือ HUB ของพื้นทางศิลปะของภูมิภาค จะเห็นว่ามีหลายส่วนที่เรายังต้องปรับเปลี่ยนและอาศัยความร่วมมือจากทางรัฐในการกำหนดนโยบายทางภาษี และกฎหมาย ความร่วมมือจากศิลปิน ความร่วมมือจากหน่วยงานทางเอกชน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งทางศิลปะ การโรงแรม การท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความเข้าใจและรสนิยมในการให้คุณค่าและความหมายของศิลปะ ให้เป็นหนึ่งใน Soft Power หรือ ส่วนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับทางสังคม หากเราตระหนักถึงความสำคัญและมีความพร้อมเพียงพอ ถึงวันนั้นเราจะสามารถกลายเป็นศูนย์กลางของศิลปะในภูมิภาคได้หรือไม่ คงต้องช่วยกันหาคำตอบและใช้ความพยายามกันต่อไป ทาง Art tank media ก็จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนระบบนิเวศทางศิลปะ ให้ก้าวหน้าและพัฒนาต่อไป

.

อ้างอิง

https://parisplus.artbasel.com/stories/south-east-asia-singapore-art-week-2023

https://www.artbasel.com/stories/sea-focus-singapore-puts-southeast-asian-art-in-the-global-spotlight

https://artsequator.com/radar-sea-globe-singapore-art-hub/

https://edition.cnn.com/style/article/singapore-art-stage-art-week-2019/index.html


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

แดงจีนมาจากไหน?

สำหรับคุณแล้ว สีแดงหมายถึงอะไร? ไม่ว่าจะในศิลปะ แฟชั่น เครื่องประดับอัญมณี ทุกสิ่งใต้เงาของพระอาทิตย์ล้วนแต่มีสีแดงเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญ นอกจากสีขาวและดำ สีแดงก็เป็นสีแรก ๆ ที่มนุษย์นั้นมองเห็นตั้งแต่เกิด กล่าวได้ว่ามนุษย์นั้นมีความรู้สึกทางสัญญะอย่างแรงกล้าต่อสี ๆ นี้อีกด้วย เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงอิทธิพลของสี ๆ นี้ที่มีต่อมนุษย์เรา Art Tank Media จะพาทุกท่านเดินทางข้ามเวลาไปหาความหมายของสีแดง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

.

“สีแดงนั้นคือสีแม่แบบของมนุษย์ คือสีแรกที่มนุษย์คิดค้น ใช้งาน ผลิต เผยแพร่ และแตกขยายจนเป็นเฉดสีต่างๆมากมาย” Micheal Pastoureau ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Red: The History of a Color 

ประวัติศาสตร์นั้นกล่าวว่ามนุษย์พวกแรกนั้นมาจากทวีปแอฟริกา ซึ่งในทางตอนใต้ของทวีปนั้นได้ค้นพบถึงการบดดินเหลือง ดินที่เกิดสีจากการเกิดปฏิกริยาออกไซด์ของเหล็กเช่นเดียวกับสนิม รวมถึงการใช้รากของต้นแมดเดอร์มาทำเป็นสีแดงที่แพร่หลายทั่วยุโรป แอฟริกา และเอเชีย หรือแม้แต่การนำแมลง Kermes มาตากแห้งและบดจนได้สีย้อมแดงเป็นต้น การค้นพบเหล่านี้เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการใช้สีแดงในสังคมมนุษย์ สามารถพบได้ในถ้ำ Altamira ในทางตอนเหนือของสเปน เช่นภาพเขียนวัวไบซันเป็นต้น

.

สำหรับจีนสมัยโบราณ ศิลปินได้ใช้สีแดงในการสร้างเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ยุคสมัยวัฒนธรรมหย่างเฉา (5000-3000 ปีก่อนคริสตกาล) เช่นเดียวกับชาวอียิปต์ ชาวจีนก็ใช้สีแดงที่ทำมาจากต้นแมดเดอร์เพื่อย้อมผ้าและเครื่องเขินอีกด้วย สำหรับชาวอินเดียจะมีพืชที่เรียกว่าต้น Rubia ซึ่งจะใช้ในการย้อมสีจีวรพระและนักบวช ชาวพื้นเมืองอเมริกันยุคแรก ๆ ก็ใช้แมลงโคชินีลมาบดเบา ๆ บนกระดานไม้ จากนั้นจึงนำไปตากแห้งเพื่อให้ได้ผงสีแดงสดเช่นเดียวกัน

.

ประเทศจีนนั้นให้ความสำคัญกับสีแดงเป็นอย่างมาก ชาดและ Red ochre นั้นได้ถูกใช้ในหลุมฝังศพโบราณ อาจแสดงถึงการช่วยเหลือผู้วายชนม์ให้ไปสู่ความเป็นอมตะ ในเวลาต่อมาสีแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ในความเฮงและความสุข ชาวจีนให้ความหมายเชื่อมโยงกับไฟ ดวงอาทิตย์ หัวใจ และพลังงานบวกทั้งหมด ต่อมาก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ การเฉลิมฉลอง ความอุดมสมบูรณ์ และการปัดเป่าความชั่วร้าย ซึ่งจะถูกเลือกเป็นสีชุดของชนชั้นสูง ชุดแต่งงาน ผ้าห่อทารก อั่งเปา และกำแพงรอบพระราชวังต้องห้ามเพื่อปกป้องผู้ที่อยู่ด้านใน ในวันตรุษจีนผู้คนจะประดับประดาโคมไฟสีแดง หรือแม้แต่ธงชาติก็ยังเป็นสีแดง 

ในโลกสากลนั้นรับรู้ถึง “สีแดงแบบจีน” มาเป็นเวลานาน เป็นสีที่ให้กล่าวถึงเวลาซื้อบ้านหรือแม้แต่การเลือกสีทาเล็บ แต่สีแดงแบบจีนนั้นหมายถึงอะไร ? 

สีแดงแบบจีน (Chinese Red) นั้นเป็นสีแดงสดออกส้มเล็กน้อยหรือเรียกในแบบหนึ่งว่าสีแดงชาด โดยดั้งเดิมทำมาจากแร่ชาด ภายหลังมามีการเลียนแบบสีสังเคราะห์ตามมา สีแดงชาดนั้นมีตั้งแต่โทนออกส้มแดงจนถึงแดงตุ่น ในจีนบางครั้งจะถูกเรียกว่าแดงใหญ่ ซึ่งซึ่งหมายถึงสีแดงชาดสด ซึ่งอาจหมายความรวมถึงระยะของแสงสีแดงในสเปกตรัมแสงที่สีแดงนั้นจะมีคลื่นที่ยาวที่สุด 

.

หากจะถามชาวจีนว่าสีแดงนั้นหมายถึงอะไร ก็อาจจะตอบได้ยากเพราะมันได้ถูกใช้ในทุกอณูของชีวิตไปแล้วตั้งแต่ยุคโบราณ ในด้านของประเพณีวัฒนธรรมก็ถูกใช้ในการแต่งงาน เจ้าสาวจะใส่ชุดสีแดง หรือแม้แต่อั่งเปาก็มีสีแดงตั้งแต่ตัวกระดาษจนถึงธนบัตรข้างใน สีแดงมีความหมายถึงความรัก สุขภาพ และโชค ชาวจีนได้ค้นพบการใช้ “ชาด” ในการทำ “สีแดงแบบจีน” อีกด้วย

.

นอกจากนี้สีแดงยังสามารถใช้เป็นสีที่แบ่งแยกระหว่างคนรวยหรือจนได้ด้วย จากคุณภาพของสีผ้านั่นเอง ในการย้อมสีของคนทั่วไปจะใช้สีย้อมที่บดมาจากต้นแมดเดอร์ซึ่งจะออกมาเป็นสีแดงคล้ายอิฐ และจะค่อย ๆ จางลงตามกาลเวลา กลับกันในหมู่ชนขั้นสูงจะสวนอาภรณ์สีแดงสดที่ย้อมจากสีแดงที่บดมาจากแมลง Kermes ที่มีราคาสูงกว่า ซึ่งจะอยู่ได้นานกว่าและมีสีที่สดกว่า

ในประวัติศาสตร์ของวงการแฟชั่นนั้น เหล่านักออกแบบต่างมีแนวคิดเกี่ยวกับสีแดงที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่น Christian Louboutin ที่จะใช้สีแดงในงานของเขา ในปี 1992 เขาได้ออกผลงานรองเท้าพื้นแดงที่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ของเขาอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีแสดงถึงความหรูหราอลังการ และเป็น “สีแดงแบบจีน” ที่เรารู้จักกันอย่างดีอีกด้วย

.

วันตรุษจีนปีนี้มาใส่ แดง กันเถอะ แต่จะเป็นแดงไหน เลือกเอาได้ตามใจชอบเลยนะ และถ้าชอบคอนเทนต์นี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์และกดติดตามเพจ Art Tank Media ของเราด้วย!!


Categories
Tank Highlight

ART SG สิงคโปร์เล่นใหญ่ ก้าวขึ้นสู่ผู้นำศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประสบความสำเร็จอย่างงดงามกับการจัดงานครั้งแรกของ ART SG เทศกาลศิลปะครั้งใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11-15 มกราคม 2566 ครั้งนี้ถือเป็นงานแสดงศิลปะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในรอบทศวรรษ ที่สามารถดึงดูดแกลเลอรีชั้นนำของโลกและในภูมิภาคให้เข้าร่วมได้กว่า 160 แห่ง จาก 35 ประเทศ มาจัดแสดงผลงานกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เช่น  David Zwirner, Pace, Victoria Miro และ White Cube เป็นต้น ทั้งจากฝั่งยุโรป อเมริกา ในภูมิภาคเอเชียและภายในประเทศสิงคโปร์เอง  ภายในพื้นที่ของฮอลล์ใหญ่ 2 ชั้นของ Marina Bay Sands Expo and Convention Centre อาคารศูนย์ประชุมและพื้นที่แสดงนิทรรศการที่มีเนื้อที่รวมกว่า 120,000 ตารางเมตร

การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของวงการศิลปะใน S.E.A โดยเห็นได้จากบรรดานักสะสม Art dealer และผู้สนใจงานศิลปะเข้าเยี่ยมชมและเลือกซื้อกันมากกว่า 40,000 คน จากสิงคโปร์และประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย และบรรดานักสะสมจากออสเตรเลีย จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น ถือเป็นการส่งสัญญาณถึงการวางตัวตนของสิงคโปร์ในการเป็นตลาดศิลปะหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความพยายามในการขึ้นเป็นผู้นำทางศิลปะของประเทศสิงคโปร์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้จัดงานในครั้งนี้อย่าง UBS บริษัทให้คำปรึกษาด้านการเงินรายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกับ The Art Assembly กลุ่มผู้จัดเทศกาลงานอาร์ตที่มีเครือข่ายในเอเชียแปซิฟิก ได้เลือกสิงคโปร์ในการจัดงานครั้งนี้เนื่องจากความพร้อมในด้านต่างๆ ของสิงคโปร์ ทำให้งานนี้เป็นงานแสดงศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียที่จัดขึ้นหลังสถานการณ์โควิด โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและพัฒนาศิลปะร่วมสมัยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานครั้งนี้แตกต่างจากงานแสดงศิลปะในภูมิภาคอย่าง  Art Jakarta เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2565 ที่ผ่านมา ที่ถึงแม้ว่าจะมีการจัดงาน Art fair แต่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่อย่างสิงคโปร์ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า ตลาดศิลปะของภูมิภาค S.E.A กำลังได้รับความสนใจจากนานาชาติมากขึ้น นอกจากนี้ผลงานศิลปะของภูมิภาคนี้จำนวนมากกำลังถูกรวบรวมและจัดแสดงโดยสถาบันระดับนานาชาติและนักสะสมส่วนตัวมากขึ้น

นอกจากนี้ในช่วงงาน Art SG สิงคโปร์เองก็มีการจัดงานศิลปะที่น่าสนใจอีกในหลายพื้นที่ ทั้ง Singapore Art Week 2023 งาน Singapore Biennale รวมถึง Light to Night Festival 2022 ที่ National Gallery Singapore ตั้งแต่วันที่ 6 – 26 มกราคม 2566 ซึ่งทำให้แทบทั้งเมืองสิงคโปร์ถูกจัดแสดงไปด้วยงานศิลปะมากมายหลากหลายแขนงในพื้นที่พิพิธภัณฑ์ อาคารสำคัญ ถนนและพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นแรงผลักดันและกำลังสนับสนุนที่สำคัญจากรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของสิงคโปร์ ในการนำพาและกระตุ้นให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการเป็นเมืองแห่งศิลปะของสิงคโปร์ให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น 

ถ้าเราได้ไป National Gallery Singapore นอกจากจะเป็นสถานที่รวบรวมผลงานศิลปะของประเทศต่าง ๆ ใน S.E.A แล้ว เราจะพบงานศิลปะของศิลปินไทยจำนวนมากถูกเก็บรวบรวมและจัดแสดงอยู่ที่นั่นตั้งแต่ผลงานของศิลปิน Old master, Modern art, Contemporary art และ Art Now อาทิ พระสรลักษณ์ลิขิต มณเฑียร บุญมา ประเทือง เอมเจริญ สมโภช อุปอินทร์ ปรีชา เถาทอง ถวัลย์ ดัชนี และดำรงค์ วงศ์อุปราช มานิต ศรีวานิชภูมิ และ ไมเคิล เชาวนาศัย เป็นต้น ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ รวมถึงงานศิลปะของโลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี ที่ Mapping อยู่บนอาคารในช่วงงาน Light Festval ที่จัดแสดงได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ 

รัฐบาลสิงคโปร์เขาเอาจริงในการออกตัวเพื่อพยายามเป็นผู้นำทางตลาดศิลปะและเปิดพื้นที่ให้คนได้ทำงานและจัดแสดงงานกันอยู่ตลอดเวลา เราเองก็อยากเห็นความร่วมมือและแรงสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ หน่วยงานต่าง  ๆ และเอกชนในประเทศไทยที่จะช่วยกันผลักดันให้ศิลปะและศิลปินไทย รวมถึงประเทศไทยให้กลายเป็น HUB สำคัญของศิลปะในภูมิภาคและจะเชื่อมต่อกับโลกศิลปะนานาชาติได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 

ประเทศไทยจะสามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ เราต้องเตรียมพร้อมในเรื่องไหนบ้าง มาช่วยกันคิดและต่อยอดไปด้วยกันกับชาว Art tank media กันเถอะ


อ้างอิง

https://www.forbes.com/sites/yjeanmundelsalle/2023/01/13/art-sg-southeast-asias-largest-ever-art-fair-launches-successfully-in-singapore/?sh=7bbb60a3e4fa

https://www.theartnewspaper.com/2023/01/06/long-delayed-art-sg-fair-finally-makes-its-debutand-singapore-is-ready

https://www.theartnewspaper.com/2023/01/12/art-sg-singapore-fair-report-has-the-city-states-moment-in-the-sun-finally-come

https://www.artnews.com/art-news/market/dealers-singapore-fair-artsg-1234653130/

Categories
Tank Highlight

ผลงานจากศิลปินไทย “LOLAY” บนเวที MISS UNIVERSE 2022

“แอนนา เสืองามเอี่ยม” ตัวแทนประเทศไทย ที่เปิดตัวด้วยความฮือฮาบนเวที Miss Universe 2022 ในรอบ PRELIMINARY COMETITION ที่เพิ่งผ่านมาเมื่อช่วงเช้า ที่ได้โชว์ไฮไลท์ในในชุดว่ายน้ำที่สวยสับ แถมปีนี้ยังมีกิมมิคพิเศษ คือผ้าคลุมที่แต่ละประเทศได้ออกแบบเอง แต่ที่เด็ดที่สุดก็จะหนีไม่พ้นกับชุดผ้าคลุมของเรา ที่ได้ออกแบบโดยศิลปินไทยชื่อดังอย่าง “โลเล” อีกด้วย!!

ชุดผ้าคลุมของประเทศไทยออกแบบโดยศิลปินไทยชื่อดัง “โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี” ที่ได้ออกแบบผ้าคลุมนี้โดยการใช้ปากกามาร์คเกอร์ รวมกับมิกซ์เทคนิคที่เป็นกระดาษ ลายเส้นจะดูเป็นแพทเทิร์น ที่มีความเคลื่อนไหว และมีเลเยอร์หลายชั้น ในเลเยอร์ชั้นล่างจะเป็นเส้นที่ทำให้แทนความเคลื่อนไหว ด้วยเส้นที่พันกันกลายเป็นเหมือนเป็นวนลูป แล้วอีกเลเยอร์หนึ่งจะเป็นใบหน้าของประชาชน มนุษย์ สัมพันธภาพของมนุษย์ที่แตกต่างกันหมด ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์ วัย เพศ ทุกอย่าง รวมกัน

ผ้าคลุมนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาระดับโลกไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวคนเดียว กลุ่มคนกลุ่มเดียว หรือแค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ทั้งโลกจะต้องทำงานร่วมกัน ผ้าคลุมนี้จึงเป็นสัญลักษณ์และกระตุ้นให้เราไม่มองความแตกต่างระหว่างเรากับคนอื่น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกนี้ หรือมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน เพียงแค่หันหน้าเข้ามาคุยกัน เราทุกคนก็สามารถทำงานร่วมกันและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกไปด้วยกันได้ แค่ลงมือทำร่วมกันก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความหลากหลายให้เกิดขึ้นบนโลก

“โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี” ศิลปิน-นักวาดภาพประกอบชื่อดัง ที่ใช้ผลงานแนว Figurative ถ่ายทอดเนื้อหาที่สะสมจากสิ่งรอบตัวเพื่อสื่อสารกับผู้ชมที่ชื่นชอบผลงานของเขา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะ จิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มมากมาย ปัจจุบันมีงานแสดงอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์กับงาน Light to Night Festival 2023 @National Gallery Singapore


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

Louis Vuitton x Yayoi Kusama การคอลแลบในรอบทศวรรษของคุณป้าลายจุด และ หลุยส์ วิตตอง

สัปดาห์นี้คงจะไม่มีอะไรไฮป์ไปกว่าการเปิดวางจำหน่ายคอลเล็กชันใหม่ของ Louis Vuitton x Yayoi Kusama ในวันที่ 6 มกราคมที่จะถึงนี้ โดยถือเป็นการกลับมาคอลแลบกันของศิลปินระดับโลกอย่าง ยาโยอิ คุซามะ และ Louis Vuitton ในรอบ 10 ปีกันเลยทีเดียว หลังจากเคยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา!!

ยาโยอิ คุซามะ ศิลปินชาวญี่ปุ่นวัย 93 ปี หรือที่หลาย ๆ ท่านรู้จักกันในชื่อ “คุณป้าลายจุด” ที่แม้จะอายุมากแต่ก็ยังเก๋าอยู่ โดยเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาทาง Louis Vuitton ก็ได้โปรโมทคอลเล็กชันใหม่ที่คอลแลบขึ้นกับคุณป้าลายจุดตามแลนด์มาร์กสำคัญต่าง ๆ อย่าง หอไอเฟล ประเทศฝรั่งเศส หรือบิลบอร์ดกลางห้าแยกชิบุย่า และสถานที่อื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น อย่างโตเกียวทาวเวอร์ วัดโซโจจิ สวนชิบะ ซึ่งก็ถือเป็นกระแสในช่วงนั้นเลยทีเดียวสำหรับสาวกของคุณป้าลายจุด และ Louis Vuitton

โดยคอลเล็กชันใหม่นี้ ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวศิลปินเอง ที่โดดเด่นไปด้วยสีสันตามสไตล์คุณป้าลายจุด ซึ่งการคอลแลบในครั้งนี้ก็ไม่ได้มีเพียงแค่กระเป๋าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก็ยังมีทั้งเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าผู้ชาย รองเท้า แว่นตากันแดด เครื่องหนัง เครื่องประดับต่าง ๆ หรือแม้แต่น้ำหอมก็มี!! แม้จะเป็นการคอลแลบครั้งที่ 2 ที่คุณป้าลายจุดได้ทำร่วมกับ Louis Vuitton แต่ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกเลยที่ผลงานของคุณป้าลายจุดจะปรากฏอยู่ในสินค้าทุกหมวดหมู่ของ Louis Vuitton ซึ่งสินค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ดรอป ครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2023 และครั้งที่สองวันที่ 31 มีนาคม 2023

Louis Vuitton x Yayoi Kusama คอลเล็กชันใหม่นี้ถูกแยกเป็น 4 ไลน์ย่อย คือ PAINTED DOTS, INFINITY DOTS, METAL DOTS และ PSYCHEDELIC FLOWER แต่ละไลน์มีจุดเด่นอย่างไรบ้าง เราตามไปดูกันเลย

มาเริ่มกันที่ “PAINTED DOTS” ที่มีจุดหลากหลายสี ซึ่งจุดเด่นก็คือจุดต่าง ๆ จะมีเอฟเฟ็กต์แบบ 3 มิติที่วาดด้วยมือ ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้เทคนิค Serigraphy ที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อจำลองฝีแปรงของยาโยอิ ให้เหมือนจริงมากที่สุด

ถัดมาคือ “INFINITY DOTS” ที่เป็นลายจุดเหมือนกัน แต่จะมีคู่สีที่ชัดเจน อย่างเช่น แดง-ดำ, แดง-ขาว, ขาว-ดำ หรือ ขาว-แดง ซึ่งในไลน์นี้ ก็จะมีทั้งกระเป๋า รองเท้า เสื้อ และแว่นตา รวมถึงมีตุ๊กตาด้วย

ต่อมาคือ “METAL DOTS” ที่ในไลน์นี้ จะเป็นการนำโลหะ 3 มิติหลากหลายขนาด มาตัดเป็นครึ่งวงกลม ซึ่งโลหะชนิดนี้จะมีจุดเด่นคือสามารถสะท้อนแสงได้ แถมโลหะแต่ละชิ้นที่นำมาติด ก็ถูกประกอบด้วยมือทีละชิ้น

และสุดท้าย คือ “PSYCHEDELIC FLOWER” ที่เป็นการนำดอกไม้สไตล์ยาโยอิ มาประดับอยู่บนกระเป๋า หมวก เสื้อ หรือแม้แต่กางเกง

แล้วสงสัยกันไหมว่า ลายจุดที่เราเห็นกันบ่อย ๆ นั้นมาจากไหน? ซึ่งยาโยอิเคยเล่าเอาไว้ว่ามันเกิดจากตอนสมัยเด็กในสมัยที่ยาโยอิยังเป็นนักเรียนอยู่ เธอมองเห็นจุดสีสดใสเป็นภาพหลอน บางครั้งก็เห็นแสงสีออร่ารอบ ๆ ของใช้ หรือหูแว่ว ได้ยินเสียงจากพืช หรือเสียงพูดคุยของสัตว์ ซึ่งทุกอย่างก็หล่อหลอม และเป็นสิ่งที่ยาโยอิหยิบเรื่องเหล่านี้ที่อยู่ในหัวของตัวเอง นำมาทำเป็นงานศิลปะอย่างในทุกวันนี้

และย้อนกลับไปในปี 2006 Marc Jacobs ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ของ Louis Vuitton ได้เดินทางไปยังโตเกียว และได้ไปพบเจอกับยาโยอิ ซึ่งศิลปินก็ได้โชว์กระเป๋าของ Louis Vuitton ที่ตัวเค้าเองได้เพ้นต์ลายจุดทับลงไปในกระเป๋า ซึ่งก็ได้ต่อยอดกันมาเรื่อย ๆ จน 6 ปีต่อมา ก็ได้เกิดเป็นการคอลแลบกันครั้งแรกของ Louis Vuitton และ ยาโยอิ คุซาม่า ซึ่งถือเป็นคอลเล็กชันที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากของ Louis Vuitton ส่วนการกลับมาร่วมงานครั้งที่ 2 นี้ ก็ถือเป็นการทำงานร่วมกับครีเอทีฟไดเรกเตอร์ ของ Louis Vuitton คนปัจจุบันอย่าง Nicolas Ghesquière ที่ได้ทำงานร่วมกันกับ Louis Vuitton มาตั้งแต่ปี 2013

เหล่าสาวกของคุณป้าลายจุด หรือ สาวกของ Louis Vuitton ถ้าชอบคอนเทนต์นี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์และกดติดตามเพจ Art Tank Media ของเราด้วยนะ

อ้างอิง

https://th.louisvuitton.com/tha-th/stories/lvxyayoikusama

https://www.straitstimes.com/life/style/designer-dots-louis-vuitton-and-yayoi-kusama-s-second-collab-drops-in-january


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

Avatar 2 : เมื่อศิลปะไม่ได้อยู่แค่บนผ้าใบ

Tank Highlight

เมื่อศิลปะไม่ได้อยู่แค่บนผ้าใบ

ภาพยนต์ Avatar 2: The Way of Water นอกจากความโดดเด่นเรื่อง CGI(Computer Generated Imagery) ที่ทำให้เราหลุดไปสู่โลกของแพนโดรา อีกส่วนที่สำคัญคือการสร้าง Character ของตัวละคร ซึ่งหนึ่งในนั้นที่เห็นได้จาก visual คือลวดลายสักของชนเผ่า เมตคายีนา ซึ่งออกแบบโดยอาศัยรากฐานรอยสักจากชนเผ่าทั่วโลก 

เช่นเดียวกับภาคแรก การนำเสนอเผ่า เมตคายีน่า นั้นสามารถสัมผัสได้ถึงแรงบันดาลใจในการนำเสนอวัฒนธรรมอันโดดเด่นของชนพื้นเมืองในพื้นที่ต่างๆ ถ้าหากในภาคแรกนั้นเป็นชาวพื้นเมืองอเมริกาเหนือ ในภาคนี้ก็เป็นการส่องเลนส์ไปที่ชนเผ่า Polynesian กลุ่มชาวเกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันมากมาย แต่กระนั้นก็มีสิ่งที่ร่วมกันอย่างหนึ่งก็คือ “รอยสัก”นั่นเอง ชนเผ่าดังกล่าวเช่น เมารี ซามัว ตาฮิติ ฮาวาย มาร์เคซัส

การสักของกลุ่มชนพื้นเมืองดังกล่าวนั้นจะแบ่งส่วนในการสักบนร่างกายเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ใบหน้า ตัวช่วงบน แขน และตัวช่วงล่าง ซึ่งก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันซึ่งจะส่งผลไปถึงรอยสักที่มีความหมายที่แตกต่างไปอีกด้วย 

ซึ่งเป็นที่น่าสนใจที่รอยสักของชนเผ่าเมตคายีน่านั้นก็มีการแบ่งส่วนที่ชัดเจนเช่นกัน ดั้งนั้นเราจะมาสำรวจกันว่าในแต่ละส่วนของพื้นที่ที่สักนั้นหมายถึงอะไรกันหากเทียบกับการสักของชนพื้นเมืองต่างๆ

บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาในการลบหลู่วัฒนธรรมของชนพื้นเมืองหรือหวังผลในการโจมตีทางผู้สร้างภาพยนต์แต่อย่างใด เราเพียงต้องการที่จะการนำเสนอความรู้เพื่อการศึกษาเพียงเท่านั้น


1. ตัวช่วงบน

การสักของเมตคายีนานั่นโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ตามแต่บุคคล แต่ละรอยสักนั้นจะมีความหมายที่แตกต่างกัน บนหน้าอกหรือหัวใจนั้นจะหมายถึงความผูกพันธ์กับเกาะต่าง ๆ บนแขนนั้นหมายถึงเกราะกำบังของทะเล ซึ่งนักล่านั้นจะมีรอยสักที่แขนหนาแน่นกว่าอกมาก รอยสักนั้นถือเป็นของขวัญจากเอวาและเผ่าของตน ถูกสร้างจากหมึกของสัตว์พิเศษ หัวหน้าเผ่าอย่างโตโนวารีจะมีรอยสักที่ปราณีตที่สุดในเผ่า ไล่ตั้งแต่ใบหน้า ลำตัว หัวไหล่ และแผ่นหลัง

เนื่องจากที่เขานั้นเป็นผู้นำเผ่า จึงไม่เป็นที่น่าแปลกที่หากจะมีรอยสักที่ดูแข็งแกร่งที่สุด รูปโค้งที่ดูดุดันพร้อมทั้ง

บางส่วนที่ดูเบาและกลมกว่า บนหน้าผากนั้นคล้ายคลึงกับสัตว์คล้ายวาฬอย่าง Nalutsa รอยสักที่น่าเกรงขามต่อศัตรูที่ได้เห็น บนคอนั้นคล้ายคลึงกับเหงือก บนหัวไหล่ก็คล้ายกับดวงตาที่อาจหมายถึงดวงตาของเอวานั่นเอง

ในชนเผ่าแถบ Polynesian การสักในส่วนของลำตัวนั้น จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความเห็นใจ ความซื่อตรง เกียรติยศ ความประนีประนอม บางส่วนเชื่อว่าในร่างกายส่วนนี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างสวรรค์และโลก การที่จะสร้างความกลมเกลียวนั้นจะต้องหาความสมดุลในบริเวณนี้นั่นเอง การสักช่วงต้นแขนตั้งแต่หัวไหล่ถึงศอกนั้นจะเกี่ยวกับความแข็งแรงและความกล้า จะเกี่ยวข้องกับนักรบและหัวหน้าเผ่า ชาวเมารีมีความเชื่อเกี่ยวกับแขนที่บวมใหญ่นั้นหมายถึงความแข็งแรงที่ตามมาเช่นกัน

2. ใบหน้า

การสักบนส่วนศีรษะหรือบนใบหน้านั้นจะเชื่อมโยงไปถึงความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ ภูมิปัญญา ความรู้ และการหยั่งรู้ รอยสักบนคางนั้นชัดเจนในเรื่องของการเชื่อมโยงระหว่างคอและปากและเสียง ซึ่งอาจหมายถึงการเป็นผู้ที่สื่อสารให้กับทวยเทพ

ผู้นำทางจิตวิญญาณอย่างโรนาลมีรอยสักอันที่ถักร้อยกันอย่างประณีต ทั้งบนหน้าผาก คาง คอ หรือแม้แต่บริเวณหน้าท้องที่เธอตั้งครรภ์อยู่

รอยสักบนหน้าผากนั้นอาจสะท้อนถึงหน้าที่ของเธอในฐานะ Tsahìk หรือผู้นำทางจิตวิญญาณของเผ่า ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำในเรื่องวิญญาณทั้งหมด รวมถึงการสื่อสารกับเอวาและทำพิธีกรรม รอยสักในส่วนนี้คล้ายคลึงกับพลังงานที่เคลื่อนไหว แต่ก็ยังมีร่องรอยคล้ายก้างปลา ซึ่งอาจสะท้อนถึงวิถีชีวิตของเผ่าที่อยู่กับทะเลตลอดเวลา

รอยสักที่ปากและคอนั้นเช่นเดียวกับรอยสักของชนเผ่าพื้นเมืองของเรา ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ที่สื่อสารกับเอวาทางวาจาและภาษามือ หรือรอยสักบนหน้าท้องที่อาจสักก่อนที่เธอจะตั้งครรภ์อาจหมายถึงสถานะบางอย่างของเธอในเผ่าอีกด้วย

3. ตัวช่วงล่าง

 รอยสักที่ขาของสมาชิกเผ่าเมตคายีนาคนหนึ่ง รอยสักของเขานั้นมีส่วนโค้งและมีการไหลเวียน เข้ารูปกับร่างกายของเจ้าของรอยสัก 

ในโลกมนุษย์ของเรา การสักตั้งแต่ช่วงขาถึงเท้านั้น จะหมายถึงการเดินไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า หรือการแยกจากและทางเลือก ช่วงเท้านั้นจะเป็นช่วงนี้เชื่อมกับเทพแห่งผืนดิน พระแม่ธรณี ซึ่งหมายถึงความชัดเจนและความเป็นรูปธรรม หรือการสักบนปลายแขนตั้งแต่ศอกลงไปนั้นจะหมายถึงความคิดสร้างสรรค์ การสร้างสิ่งใหม่ๆหรือการทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆนั่นเอง

4. แขน

ผู้ที่เป็นนักรบหรือนักล่าของเผ่าหรือแม้แต่หัวหน้าเผ่า มักจะมีรอยสักบนใบหน้าและหน้าอกจนถึงแขน บนแขนนั้นก็คล้ายกับเปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ปรากฏตัวในแพนโดรา สำหรับมนุษย์นั้นการสักช่วงต้นแขนตั้งแต่หัวไหล่ถึงศอกนั้นจะเกี่ยวกับความแข็งแรงและความกล้า จะเกี่ยวข้องกับนักรบและหัวหน้าเผ่า ชาวเมารีมีความเชื่อเกี่ยวกับแขนที่บวมใหญ่นั้นหมายถึงความแข็งแรงที่ตามมาเช่นกัน

อาจกล่าวได้ว่าการได้รอยสักมาของชาวเมตคายีนานั้น ต้องเป็นผู้ที่คู่ควรแต่รอยสัก ไม่ว่าจะผ่านการต่อสู้ ชัยชนะ หรือการเติบโต หรืออะไรก็ตามทำให้ผู้สักนั้นถูกมองว่าคู่ควร ทั้งนี้การสักของวัยรุ่นอาจจะเป็นสิ่งที่ทั้งมนุษย์และชาวนาวีอาจมองว่าไม่เหมาะไม่ควร ดังเช่นลูก ๆ ของหัวหน้าเผ่าที่ไม่ได้มีรอยสักเลย หรืออาจเป็นเหตุผลว่าทำไมโตโนวารีถึงมีรอยสักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในฐานะหัวหน้าเผ่านั่นเอง


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th

Categories
Tank Highlight

พร้อมเที่ยวสิ้นปีกับ “9 Art Space เชียงใหม่ เชียงราย” สายอาร์ตห้ามพลาด

ใกล้จะถึงวันหยุดยาวกันเเล้วสายอาร์ต เราเลยมีสถานที่ท่องเที่ยวแบบสายอาร์ตตัวจริงห้ามพลาดไปเช็คอิน จะมีที่ไหนบ้านไปดูกันเลย !!

พร้อมเที่ยวสิ้นปีกับ 9 Art Space เชียงราย เชียงใหม่ สายอาร์ตห้ามพลาด จากในปัจจุบันกระแสของการท่องเที่ยวแนวศิลปะเป็นที่นิยมมากขึ้นเราเลยอยากจะแนะนำ Art Space ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดทางภาคเหนืออย่างเชียงใหม่กับเชียงรายมาให้เพื่อน ๆ รู้จักกันเผื่อวันหยุดยาวจะได้แวะไปเที่ยว ไปเช็คอิน แต่ละที่ถ้าได้ลองไปกันแล้วจะเต็มอิ่มกันศิลปะ และบรรยากาศสวย ๆ อย่างแน่นอน เพราะเราได้คัดสถานที่ปัง ๆ มาให้เพื่อน ๆ กันแล้ว ! ถ้าได้ไปแล้วก็อย่าลืมที่จะถ่ายรูปเช็คอินมาแบ่งปันเราดูกันบ้างนะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยว่ามีที่ไหนบ้าง เริ่มเลยย !! 


“MAIIAM Contemporary Art Museum” หรือ “พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม” เป็นสถานที่แสดงงานศิลปะร่วมสมัยทั้งของไทยและต่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นโดย ครอบครัวบุนนาค และเบอร์เดอเลย์ โดยจุดประสงค์หลักของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์นี้ คือการแบ่งปัน เพื่อให้สถานที่นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ และเสพงานศิลปะร่วมสมัยที่ครอบครัวบุนนาคสะสมมามากกว่า 30 ปี ก่อนหน้าที่จะมาเป็นพิพิธภัณฑ์นั้น ที่นี่เคยเป็นโกดังเก่ามาก่อน ซึ่งออกแบบโดย “คุณรชพร ชูช่วย” สถาปนิก จาก allzone

ที่มาของชื่อ “ใหม่เอี่ยม” มีความหมายที่ลึกซึ้งนั่นก็คือ “ใหม่” มาจากคำว่า ‘เชียงใหม่’ ส่วนคำว่า “เอี่ยม” มาจากการเอาชื่อของ ‘เจ้าจอมเอี่ยม’ ผู้เป็นคุณย่าทวดของคุณเอริค มารวมกันเป็นคำว่า “ใหม่เอี่ยม” นั่นเอง 

ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม จะเริ่มตั้งแต่ที่ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ เพราะ จะเจอกระจกที่ประกอบเรียงกันจนเป็นกำแพงกระจกขนาดใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ซึ่งให้ความรู้สึกแปลกตาน่าดึงดูดจนอดเข้าไปชมกันไม่ได้เลย และหากใครได้มาถ่ายรูปกับกำแพงกระจกนี้ จะรู้ได้ทันทีว่าที่นี่คือที่ไหน !

ส่วนภายในอาคารจะแบ่งออกเป็นสองชั้นด้วยกัน ชั้นล่างจะเป็นหอนิทรรศการหมุนเวียน ห้องฉายภาพยนตร์ หอทางเดินจะจัดวางงานเพื่อสดุดีเจ้าจอมเอี่ยมและประวัติของตระกูลบุนนาค ส่วนชั้นบน จะเป็นพื้นที่นิทรรศการถาวร และห้องนิทรรศการขนาดเล็ก ๆ สองห้อง โดยพื้นที่ตรงกลางของพิพิธภัณฑ์นั้น สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ เป็นทั้งแบบในร่มและกลางแจ้ง รวมทั้งยังมีมุมถ่ายรูปสวย ๆ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านขายของที่ระลึกให้คนรักศิลปะได้ซื้อกลับไปชื่นชมกันอีกด้วย ครบเครื่องเรื่องอาร์ตพลาดไม่ได้แล้ว !!

Location : https://goo.gl/maps/7CrP63oDTr4ZQFNP6

Hours : 10.00 – 18.00 น. (ปิดวันอังคาร)

ค่าเข้าชม : บุคคลทั่วไป 150 บาท / นักเรียนนักศึกษา 100 บาท / เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าชมฟรี

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/MAIIAMchiangmai

ขอบคุณรูปภาพจาก : ศุภกร ศรีสกุล

“Gallery Seescape” เป็น Artist Cafe เอาใจคนที่ชอบศิลปะ และหลงรักในการไปคาเฟ่ดื่มด่ำกับบรรยากาศแบบชิว ๆ ตั้งอยู่ใจกลางเชียงใหม่ ในซอยนิมมานต์เหมินทร์ 17 ภายในร้านนั้นมีตัวอาคารแยกอีกหลังเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะโดยเฉพาะ จะเป็นการจัดแสดงแบบหมุนเวียน การตกแต่งร้าน เน้นตกแต่งแบบเอิร์ธโทนดูแล้วสบายตา และทุกมุมภายในร้านเป็นการตกแต่งที่สวยงามให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เอาใจสายถ่ายภาพสุด ๆ 

Location : https://g.page/galleryseescape?share

Hours : 11.00 – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/galleryseescape/

ขอบคุณรูปภาพจาก : Gallery Seescape

“Dream Space Gallery” เป็นสถานที่แสดงงานศิลปะที่รวมผลงานของศิลปินดัง ๆ ไว้ที่นี่ เป็นแกลเลอรี่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ศิลปินทุกคนมาจัดงานแสดงศิลปะของตนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 6 ไร่ บนถนนระแกง กลางเมืองเชียงใหม่ ถ้ามองจากด้านนอกอาจจะดูไม่กว้างนัก แต่เมื่อเข้าไปด้านในจะเห็นได้ว่าเป็นสถานที่กว้างขวาง ร่มรื่นและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ มีทั้งหมด 3 อาคาร ส่วนแรกจะเป็นบ้านโบราณ 3 ชั้น ซึ่งจัดพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาของครอบครัว CCM 

ผู้ก่อตั้งแกลเลอรีแห่งนี้ มีทั้งภาพวาด และสิ่งของเครื่องใช้ที่ถูกนำมาจัดแสดง บริเวณชั้น 2 จะมีประตูเชื่อมกับส่วนที่ 2 เป็นเหมือนโกดังขนาดใหญ่ที่สื่ออารมณ์ของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ จากหลาย ๆ ศิลปิน ด้านในส่วนหนึ่งจัดเป็นโรงละคร สามารถเป็นสถานที่จัดกิจกรรมได้ ตึกนี้เชื่อมกับส่วนที่ 3 ซึ่งเป็นร้านกาแฟเล็กๆ ส่วน ลานกว้างบริเวณนั้น สามารถจัดกิจกรรมได้เช่นกัน

ถ้าใครได้มา Dream Space Gallery จะได้ชื่นชมกับผลงานศิลปะอย่างเต็มอิ่มกับทุก ๆ มุมของแกลเลอรีแบบเพลินตา เพลินใจ ทั้งยังเป็นที่ที่สามารถถ่ายรูปเก๋ ๆ ได้ทุกมุมอีกด้วย และมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

Location : https://goo.gl/maps/tAinroVbbmJBmtam6

Hours : 08.00 – 18.00 น.

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/profile.php?id=100057417732781

ขอบคุณรูปภาพจาก : Dream Space Gallery

“Kalm​ Village”​ แหล่งรวมงานศิลปะ วัฒนธรรมร่วมสมัยกลางเมืองเชียงใหม่ ที่ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ผลิต และชุนชน ที่มาของชื่อ “Kalm​ Village”​ ก็คือเป็นการเล่นคำระหว่างคำว่า ‘คาม’ ที่แปลว่าหมู่บ้าน กับ ‘Calm’ ที่แปลว่าสงบเรียบง่าย จนกลายมาเป็น ‘Kalm Village’ หมู่บ้านที่เชื่อว่าวิถีการดำรงอยู่อย่างเรียบง่ายของผู้คนในอดีตนั้นมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ หัตถกรรม วัฒนธรรม ทุกอย่างล้วนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน

.

Kalm Village สร้างด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์ไทยล้านนาร่วมสมัย มีกลิ่นอายความเป็นจีนเล็กน้อย

Kalm Village เป็นเสมือนหมู่บ้าน แต่ละหลังมีเรื่องเล่าของตัวเอง ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ประกอบด้วยบ้านทั้งหมด 8 หลัง ได้แก่ Kalm Reception, Kalm Kitchen, Kalm Coffee House, Kalm Gallery,  Kalm Hall, Kalm Style, Kalm Archive และ Kalm Residency Program พอเดินครบจนจบทั้ง 8 ห้องก็จะมาเจอกับ ‘หอแก้ว’ บนหอแก้วยังเป็นจุดชมวิวที่มองออกไปจะเห็นยอดเจดีย์หลวงภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวิวที่สวยงาม เป็นอีกสถานที่ ที่อยากแนะนำให้ทุก ๆ คนต้องไปเช็คอินกันสักครั้ง

Location : https://goo.gl/maps/oR7t1xCKVJzqsmd19

Hours : 09.30 – 18.30 น. (ปิดทุกวันพุธ)

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.kalmvillage.com/en-village

ขอบคุณรูปภาพจาก :  design anthology

“ศูนย์ศิลปะบ้านตึก” พื้นที่จัดแสดงผลงานของศิลปินทั้งรุ่นเยาว์ หน้าใหม่ และศิลปินจากหลากหลายสาขา ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเป็นนิทรรศการหมุนเวียน และยังเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กและบุคคลทั่วไป เพื่อจัดหาแหล่งทุนโดยไม่หวังผลกำไร บ้านตึกแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ เยื้องกับวัดอุปคุต เดิมเป็นบ้านของหลวงอนุสารสุนทร บุคคลสำคัญคนหนึ่งที่เป็นผู้วางรากฐานด้านการค้าของเชียงใหม่ ท่านได้สร้างอาคารหลายหลังในบริเวณบ้านเพื่อทำการค้าและ พักอาศัย ซึ่งอาคารที่ถูกปรับปรุงให้เป็นศูนย์ศิลปะบ้านตึก นั้นเรียกว่า ตึกขาวซึ่งถือเป็นอาคารคอนกรีตเริมเหล็กหลังแรกๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะไปชมงานศิลปะสวย ๆ แล้วอย่าลืมไปถ่ายรูปหน้าตึกสวย ๆ กันด้วยนะ

Location : https://goo.gl/maps/22srduJJY7T6nVpP9

Hours : วันอังคาร ถึง วันอาทิตย์, 10:00 – 20:00 น. (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ค่าเข้าชม : เข้าชมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/baantuekartcenter

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.soimilk.com/travel/news/chiang-mai-galleries-night-2017

“Chiang Mai House of Photography” หากการถ่ายภาพเป็นที่นิยมในปัจจุบันแล้ว ถ้ามองย้อนไปยังอดีตการจะมีรูปถ่ายแต่ละใบนั้นยากยิ่งกว่า ด้วยอุปกรณ์อันแสนแพง และกรรมวิธีที่จะล้างรูปแต่ละใบออกมานั้นยากยิ่งกว่า หอภาพถ่ายเป็นสถานที่จัดแสดงภาพถ่ายสมัยโบราณของเมืองเชียงใหม่ในมุมมองต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บภาพถ่ายอันทรงคุณค่า จัดตั้งโดยสาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในประกอบด้วยข้อมูลทางศาสตร์และศิลป์ในแขนงต่าง ๆ อย่างมากมาย รวมไปถึงงานวิจัยบทความที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่ายในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป และนักศึกษา นอกจากนี้ยังมีห้องแสดงงานภาพถ่าย และห้องสมุดที่มักจะมีวิทยากรชื่อดังหมุนเวียนกันมาให้ความรู้อีกด้วย

Location : https://goo.gl/maps/B9uVm54EY96Eac186

Hours : 08.30 – 16.30 น. (ปิดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cmhop.org/en/

ขอบคุณรูปภาพจาก : Olive in Wonderland 

“Jing Jai Gallery” จริงใจแกลเลอรี่ พื้นที่จัดแสดงศิลปะร่วมสมัยที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของจริงใจมาร์เก็ต โดยเป็นตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ที่อยู่คู่กับเมืองเชียงใหม่มากว่า 10 ปีแล้ว และได้มีการเปิดพื้นที่ส่วนของแกลเลอรี่ศิลปะ เพื่อนำเสนอตัวตนที่มีความเฉพาะตัวของเมืองศิลปะแบบเชียงใหม่ ที่เป็นจังหวัดที่ผสมผสานความเก่าแก่ของศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์แบบคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี แกลเลอรี่แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่กลางของทั้งงานศิลปะแบบดั้งเดิมและเปิดพื้นที่ให้ศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่ ๆ ได้นำเสนอผลงานผ่านนิทรรศการหมุนเวียนที่จัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

Location : https://goo.gl/maps/yELmF7QJvKS6upBw6

Hours : ทุกวันอังคาร ถึง วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 18.00 น. วันเสาร์ และ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์) 

ค่าเข้าชม : เข้าชมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.jingjaigallery.com/

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/JingJaiGalleryChiangMai/

“พิพิธภัณฑ์บ้านดำ” หรือ “บ้านดำ” สร้างขึ้นโดย อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ที่มีฝีมือทางด้าน จิตรกรรม ประติมากรรม ได้สร้างงานด้านศิลปะไว้มากมาย ทั้งทางด้านภาพเขียน และด้านประติมากรรมหลายชิ้น ลักษณะของบ้านดำจะเป็นกลุ่มบ้านไม้ ศิลปะแบบล้านนา บ้านรูปทรงแปลกตา บ้านเกือบทุกหลังทาด้วยสีดำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “บ้านดำ” และยังเป็นสีที่ อ.ถวัลย์ โปรดปราน ในบ้านแต่ละหลังจะประดับด้วยไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม นอกจากไม้แกะสลักแล้วยังประดับด้วยเขาสัตว์ เช่น เขาควายมากกว่า 100 ชิ้น เขากวาง หนังจระเข้ เปลือกหอยขนาดใหญ่ และยังมีกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกช้าง เป็นต้น

จุดเด่นอย่างที่เราทราบกันดีก็คือ สีที่ใช้คือสีดำ คลุมโทนสีไปในทิศทางเดียวกันหมด และบ้านแต่ละหลังที่ออกแบบดูแปลกตา รวมทั้งมีต้นไม้นานาชนิด บรรยากาศที่ร่มรื่น ซึ่งประกอบไปด้วยบ้านทั้งหมดราว ๆ 40 หลัง แต่ละหลังจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป สามารถเดินเข้าชมในบ้านได้เพียงไม่กี่หลัง ส่วนหลังอื่น ๆ มองเข้าไปได้จากหน้าประตูเท่านั้น สิ่งของที่สะสมและจัดแสดงภายในบ้านก็จะมีแนวคิดแตกต่างกันออกไป ซึ่งบ้านเหล่านี้ไม่ได้สร้างไว้สำหรับอยู่อาศัยแต่สร้างไว้สำหรับเก็บสิ่งของสะสมต่าง ๆ ของอ.ถวัลย์ ส่วนภาพเขียนของ อ.ถวัลย์ ที่อยู่ในบ้านดำ จะมีเพียงไม่กี่ภาพ เป็นอีกที่หนึ่งที่สายอาร์ตจะต้องไปเช็คอิน และเห็นด้วยตาตัวเองกันนะ 

Location : https://goo.gl/maps/cPD8gQis7T3Ntyi18

Hours : 09.00 – 17.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันนักขัตฤกษ์)

ค่าเข้าชม : คนละ 80 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://instagram.com/baandammuseum_official?igshid=NDk5N2NlZjQ=

ขอบคุณรูปภาพจาก : tourism thailand

“ขัวศิลปะ” ก่อตั้งโดยกลุ่มศิลปินเชียงราย ขัว ในภาษาเหนือ แปลว่าสะพาน ขัวศิลปะ คือ สะพานที่จะเชื่อมศิลปะสู่สังคม ขัวศิลปะเกิดขึ้นจากการรวมตัวของศิลปินเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2532 ที่ได้แสดงผลงานศิลปะร่วมกัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และได้ทำกิจกรรมร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา กลุ่มศิลปิเชียงรายได้ก่อตั้งเป็นสมาคมศิลปินเชียงรายขึ้น เพื่อดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงรายอย่างต่อเนื่อง ในพ.ศ. 2555 อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มอบเงินทุนตั้งต้นสำหรับก่อตั้งกองทุนศิลปินเชียงราย เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของศิลปินและการศึกษาของนักศึกษาศิลปะในจังหวัดเชียงราย เพื่อให้กองทุนสามารถสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะของศิลปินเชียงรายและศิลปินไทยได้ต่อไป จึงเกิดการทำธุรกิจร่วมกันในหมู่พี่น้องศิลปินและผู้รักศิลปะ เกิดขึ้นมาเป็นพื้นที่ศิลปะอย่าง ขัวศิลปะ ซึ่งภายในพื้นที่ของขัวศิลปะมีห้องแสดงผลงานศิลปะแบบหมุนเวียนของศิลปินเชียงรายทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่ๆ รวมถึงศิลปินนานาชาติ เพื่อส่งเสริมและยกระดับศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาคสู่ความเป็นสากล และส่วนของร้านอาหารไว้ให้ผู้สนใจเข้ามาใบริการด้วย

Location : https://goo.gl/maps/j1VCSnoYP2XHJuZz7

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/ArtBridgeChi

ขอบคุณรูปภาพจาก : ขัวศิลปะ


สามารถส่งข้อมูลข่าวสารให้เราประชาสัมพันธ์ได้ที่ media@arttankgroup.co.th

Send us your Art news for PR here: media@arttankgroup.co.th